วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 06, 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

มัลติมีเดียทางการศึกษา
ปัจจุบันคนไทยเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งกำลังมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะอิทธิพลต่อการศึกษาของไทย ซึ่งไทยควรจะมีการจัดทำสื่อเพื่อเตรียมบุคลากรทางการศึกษา คือ ครูและผู้บริหารการศึกษาให้ก้าวไปพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตระหนักถึงการเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีมัลติมีเดียกับการศึกษา และบทบาทของครูกับนักเรียนเพื่อที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์
เนื่องจากว่าคอมพิวเตอร์กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วไปเพราะมีราคาถูก หาซื้อได้ง่ายให้ทั้งภาพกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว และในสถานศึกษาต่าง ๆ ก็จะจัดให้ผู้เรียนได้เรียนคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์จึงได้เข้ามามีบทบาทกับการศึกษาเป็นอย่างมาก และเนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันได้เจริญก้าวหน้าไปมาก มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายคอมพิวเตอร์ในส่วนของมัลติมีเดียทางการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาได้มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่รู้จักกันดี เช่น e – learning โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าทั้ง e – learning และ CAI ต่างก็เป็นมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากการนำเอาภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ มาผสมผสานกันเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้อีกแหล่งหนึ่งของผู้เรียน ทำให้เนื้อหาของบทเรียนมีความน่าสนใจ น่าศึกษามากขึ้น คอมพิวเตอร์จึงได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลมัลติมีเดียทางการศึกษาขนาดใหญ่ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ระหว่างกันเองได้
ที่มา : http://bunsurm12.blogspot.com/2007/09/blog-post_25.html

E-learning มิติใหม่แห่งการเรียนรู้
E-learning หมายถึง การเรียนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้การนำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ ในรูปของสื่อ มัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ e-learning เป็นการ สร้างสิ่งแวดล้อม ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะมีงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุนว่า เนื้อหาการเรียน ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านทาง มัลติมีเดียนั้นสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความ เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การที่เนื้อหาการ เรียนอยู่ในรูปของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (e-text) ซึ่งได้แก่ ข้อความซึ่งได้รับการจัดเก็บ ประมวลผล นำเสนอ และเผยแพร่ทาง คอมพิวเตอร์จึงทำให้มีข้อได้เปรียบสื่ออื่น ๆ หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ด้วยความ สะดวกและรวดเร็วความคงทนของข้อมูล รวมทั้งความสามารถในการทำข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

IT กับ e-learning
การใช้ IT เพื่อการเรียนการสอนในลักษณะของ e-learning ในยุคปัจจุบัน จะมีการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทั้งในลักษณะของ Stand Alone และการเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ต เพื่อค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูล สารสนเทศ นอกจากนั้น e-learning จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งต่อไปนี้
1. สื่อการเรียนการสอน แบบสื่อประสม (Multimedia) เป็นสื่อที่มีการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบทั้งภาพและเสียง มีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับผู้เรียน ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนการสอน ช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อน ของเนื้อหาวิชาบางตอน ที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรม นอกจากนี้สื่อนี้บางส่วนเป็นแบบฝึกหัดที่จะช่วยทบทวนความ รู้ของผู้เรียน
2. การใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน (Education Resources Sharing) การพัฒนาองค์กรความรู้บนเครือข่าย คอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นคลังทุกแขนง ที่พร้อมจะให้บริการ บนเครือข่ายในหลายรูปแบบ
3. การเรียนการสอนทางไกล (Long Distance Learning) การเรียนการสอนทางไกลของวงการศึกษาไทย ได้มีการ วิวัฒนาการตามลำดับก่อนที่จะเป็นรูปแบบของ e-learning ในปัจจุบันนี้โดยมีวิวัฒนาการที่น่าสนใจตามลำดับดังนี้
3.1 การเรียนการสอนทางไปรษณีย์
3.2 การเรียนการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
3.3 การเรียนการสอนผ่านทางโทรทัศน์ และผ่านเครือข่ายดาวเทียม
3.4 การเรียนการสอนผ่านทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การศึกษาที่นิยมในขณะนี้คือ Web

เปรียบเทียบรูปแบบการเรียนการสอน
ชั้นเรียนปกติ
1. ผู้เรียนนั่งฟังบรรยายในชั้นเรียน
2. ผู้เรียนค้นคว้าจาดห้องสมุด หรือค้นหา จากสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ
3. ปฏิบัติในห้องทดลองหรือการปฏิบัติจริง ในสถานการณ์
4. เรียนรู้จากการโต้ตอบหรือสนทนาในชั้นเรียน
5.ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่

ชั้นเรียนออนไลน์
1.ใช้ระบบวิดีทัศน์ออนดีมานต์ผ่านทางเว็บเพจ ที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูได้หรือสามารถเก็บไฟล์ ไว้ดูเอง
2. ผู้เรียนค้นคว้าจาดห้องสมุด หรือค้นหา จากสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ 2. ใช้การค้นหาผ่านทางเว็บ เช่น Seaech engine ต่าง ๆ
3. ใช้การเรียนรู้แบบโมดูล การใช้แบบจำลอง ออนไลน์ online simulation
4.ใช้ระบบกระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้ การสนทนาดีกว่าในแง่สิ่งแวดล้อมที่เป็น ชั้นเรียน ปกติเมื่อผู้เรียนมีจำนวนมาก
5. ไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่


คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI (Computer-Aided / Assisted Instruction)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสม อันได้แก่ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด โดยที่อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะนำเสนอเนื้อหาทีละหน้าจอภาพ โดยเนื้อหาความรู้ในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะได้รับการถ่ายทอดในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ และโครงสร้างของเนื้อหา โดยมีเป้าหมายสำคัญก็คือการได้มาซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ (ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กรุงเทพฯ : ภาคโสตทัศนศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2541 )

คุณลักษณะของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. การนำเสนอเนื้อหาสาระ Information
คือ มีการนำเนื้อหาสาระมาจัดกระทำ และนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ตามหลักที่สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ผู้ออกแบบใช้เป็นฐานในการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
2. การสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล Individualization
คือ มีการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นมากพอที่จะให้ผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนรู้แตกต่างกัน มีอิสระในการควบคุมการเรียนหรือเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนได้ โดยมีรายการ มีปุ่มควบคุมต่างๆ มีลักษณะการเรียนเนื้อหาแบบโยงใย หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia) หรือข้อความหลากหลาย (Hypertext) ให้ผู้เรียนมีอิสระในการสืบไปในบทเรียนด้วยเวลาที่แตกต่างกัน มีอิสระในการเลือกเนื้อหา เลือกลำดับของการเรียน เลือกการฝึกปฏิบัติหรือเลือกการทดสอบที่สอดคล้องกับระดับความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน
3. การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน (Interation)
คือ มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ ประหนึ่งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน อย่างต่อเนื่องตามกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ออกแบบให้เอื้อต่อการเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด ซึ่งการอนุญาตให้ผู้เรียนเพียงแค่คลิกเปลี่ยนหน้าจอไปเรื่อยๆ ทีละหน้า ไม่ถือว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ที่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้
4. การให้ข้อมูลป้องกลับทันที (Immediate Feedback)
CAI มีการให้ผลป้อนกลับทันที ซึ่งเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่ง และให้ผู้เรียนได้ตรวจความเข้าใจของตน การให้ผลป้อนกลับมีได้หลายรูปแบบ เช่น การบอกว่า ถูก – ผิด การให้คำชม การขอให้ลองคิดดูใหม่ การให้คะแนน และการประเมินผลการทดสอบ ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจในความสามารถของตน และเป็นแรงจูงใจภายในให้มีความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาอื่นๆ อีก ก่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างทางปัญญาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
ที่มา : www.nidnoy.com/cai_means.doc